สวัสดี พี่ๆน้องๆ ชาว SMEs ทุกท่าน

บทความนี้เป็นตอนที่สี่ของ Facebook: SMEs free tool ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแบ่งปันประสบการณ์และเครื่องมือในการพัฒนา SMEs จากประสบการณ์ของผู้เขียน

ไม่นานนี้มีข่าวออกมาว่า บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทยเลิกใช้ KPI แล้วไปใช้ OKRs แทน ผู้เขียนจึงสนใจว่าเราทำงานโดยไม่มีตัวชี้วัดได้จริงๆหรือ งั้นก็สบายสิ แล้วบริษัทจะเป็นยังไงต่อไป แต่แล้วก็พบว่า OKRs (Objective and Key Results) เป็นรูปแบบหนึ่งของตัวชี้วัด ซึ่งถูกออกแบบให้แก้ไขข้อด้อย หรือ ข้อจำกัดของรูปแบบตัวชี้วัดเดิม

OKRs คือ กรอบแนวคิดที่ทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานทำงานไปสู่เป้าหมายที่วัดได้ และสามารถผลักดันให้บริษัทขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ OKRs เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนองค์กร ซึ่งจะมีการติดตามผลความสำเร็จของตัวชี้วัดทุกๆไตรมาส

สิ่งที่เป็นความท้าทายในระบบตัวชี้วัดแบบเดิม คือ

  1. Execution equals alignment การทำให้แผนไปสู่การปฎิบัติมีความสำคัญเท่าเทียมกับ การทำให้แผนหรือตัวชี้วัดในแต่ละระดับ มีความสอดคล้อง (alignment) กันจากตัวชี้วัดในระดับองค์กร สู่ระดับแผนก และสู่ระดับบุคคล
  2. Execution means sticking to the plan แผนหรือตัวชี้วัดในรูปแบบเดิม จะมีการดำเนินการทุกอย่างโดยยึดให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  3. Communication equals understanding การสื่อสารมีความสำคัญเท่าเทียมกับการที่พนักงานมีความเข้าใจในแผนหรือตัวชี้วัด ถึงแม้ผู้บริหารระดับสูงจะสื่อสารกับพนักงานทั้งในรูปแบบโซเซียลมีเดีย ออนไลน์ และ คุยกับพนักงานโดยตรง หลายๆบริษัทมีการกำหนด core values, strategic priorities, mission statements, vision statements, codes of conduct, core competencies และ อื่นๆอีกมากมาย พนักงานเริ่มงง ว่าบริษัทต้องการอะไร และจริงๆแล้วบริษัทต้องการให้พนักงานมุ่งเน้น(focus) อะไร
  4. A performance culture drives execution ระบบการวัดผลองค์กรแบบเดิม มุ่งความสำเร็จเฉพาะหน่วยงานตนเอง ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ความร่วมมือ และ โอกาสที่จะเสี่ยงเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ภายใต้ OKRs มีการมุ่งเน้นให้มีการประสานงานกันทั้งในระดับแนวตั้ง คือ จากระดับองค์กรสู่ระดับพนักงาน และ แนวนอน คือ การเชื่อมโยงแผนหรือตัวชี้วัดของแผนกต่างๆ
  5. Execution should be driven from the top สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ตัวชี้วัดจะถูกส่ง หรือ สั่งลงมา (top down) จากเบื้องบน และการตัดสินใจอยู่เฉพาะผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ภายนอกเปลี่ยนเร็วมาก จำเป็นต้องกระจายอำนาจการตัดสินใจ และการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่พนักงานในทุกระดับ

อยากจะชวนผู้อ่านมาทดลอง OKRs ในโครงการใหม่ๆ หรือ งานที่เป็นความท้าทายของบริษัท ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว (quick win) ก็จะทำให้พิสูจน์ได้ว่าแนวคิดนี้ใช้ในองค์กรของเราได้ และสามารถขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นๆต่อไป งั้นเรามาเริ่มกันดีกวา

ขั้นตอนแรกก่อนที่จะเข้าไปตั้ง OKRs ขององค์กร จำเป็นต้องทบทวนพันธกิจ (Mission) ขององค์กรก่อน พันธกิจคือเหตุผลในการดำรงอยู่ขององค์กร มาลองดูพันธกิจขององค์กรระดับโลกก่อน ขออนุญาตไม่แปลเพื่อดำรงอรรถรสของภาษาไว้

Nike- To bring inspiration and innovation to every athlete in the world

Starbuck– To inspire and nurture the human spirit-one person, one cup and are neighborhood at a time

Google-Organize the world’s information and make it universally accessible and useful.

ลองทดลองกรอกแบบฟอร์มพันธกิจที่แนบมา ทำให้พันธกิจของเราดู cool เหมือนองค์กรระดับโลกดีไหมครับ

1.We exist to (primary purposes, needed served, or problem solved)

เหตุผลในการดำรงอยู่ขององค์กร(จุดประสงค์หลัก เพื่ออะไร หรือแก้ไขปัญหาใด)

  1. For (primary clients or customer)

สำหรับ(ลูกค้า หรือ ใคร)

  1. In order to (core services offered)

เพื่อที่จะให้ (บริการหรือสินค้าหลัก คืออะไร)

4.So that (long-term outcomes determining success)

เพื่อบรรลุ (ความสำเร็จในระยะยาวที่คาดหวังคืออะไร)

ในตอนต่อๆไป จะเริ่มเจาะลึกถึงการกำหนด Objective และ Key Results ในสัปดาห์ต่อๆไป

สวัสดีวันหยุดยาว ขับรถระวังกันด้วยครับ ขอให้เดินทางกันโดยสวัสดิภาพ