สวัสดี พี่ๆน้องๆ ชาว SMEs ทุกท่าน

บทความนี้เป็นตอนที่ห้าของ Facebook: SMEs free tool ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแบ่งปันประสบการณ์และเครื่องมือในการพัฒนา SMEs จากประสบการณ์ของผู้เขียน  ผู้เขียนเพิ่งกลับจากการวิ่ง Mini-Marathon อาทิตย์นี้เลยมาช้าหน่อย

ในตอนที่แล้วได้พูดถึง OKRs (Objective and Key Results) ซึ่งเป็นตัวชี้วัด KPI รูปแบบใหม่ที่บริษัทชั้นนำ เช่น Google ใช้ และพูดถึงขั้นตอนแรกคือ ชวนทุกท่านไปสร้างพันธกิจให้ดู cool

ในลำดับถัดมาให้พิจารณาวิสัยทัศน์ (Vision statement) คือ ภาพขอองค์กรในอนาคตที่เราอยากจะให้เป็นใน 5, 10 หรือ 15 ปี ข้างหน้า ซึ่งไม่ควรเป็นนามธรรม(abstract) ซึ่งวิสัยทัศน์จะเป็นพื้นฐานสำหรับกำหนดกลยุทธ์และOKRs วิสัยทัศน์ที่ทรงพลังทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันไปสู่ภาพอนาคตขององค์กรให้เกิดขึ้นจริง

วิสัยทัศน์ที่ดี ประกอบด้วย

  • Quantified and time-bound จะต้องวัดได้และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อาทิ การวัดจำนวนลูกค้าที่เราให้บริการ
  • Concise วิสัยทัศน์ทีดีต้องดูกระชับ อาทิ Muhtar Kent CEO ของ Coca-Cola ตั้งวิสัยทัศน์ในปี 2008 ไว้ว่า “ในปี 2020 เราจะเพิ่มยอดขายเป็น 2 เท่า” ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิสัยทัศน์นี้ กระชับ วัดได้ และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
  • Consistent with mission ต้องสอดคล้องกับพันธกิจ เพราะวิสัยทัศน์คือการฉายภาพอนาคตเมื่อเราสามารถดำเนินพันธกิจได้สำเร็จ
  • Verifiable ตรวจสอบได้ มักจะมีคำพูดเท่ๆ อาทิ world class, leading edge, top quality ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้
  • Feasible วิสัยทัศน์ไม่ควรเป็นการรวบรวมความฝัน (collective dreams) ของผู้บริหารระดับสูง อันนี้โดน! วิสัยทัศน์ควรแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในธุรกิจ ตลาด คู่แข่งและแนวโน้มใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
  • Inspirational วิสัยทัศน์ควรสร้างแรงบันดาลใจหรือ passion ของพนักงาน ซึ่งจะทำได้ต้องทำให้วิสัยทัศน์เป็นที่เข้าใจของพนักงานในทุกระดับ (From the boardroom to the shop floor)

ที่นี้เราลองมาทำวิสัยทัศน์ผ่านเกม “Back to the future visioning” (พอบอกปุ๊ป ถ้าคุณคิดถึงหนังเรื่องหนึ่ง รู้อายุเลย) เวลาทำ workshop ให้ตัด กระดาษขนาด 3 X 5 นิ้ว แล้วแจกให้พนักงานของคุณ แล้วให้ทุกคนหลับตา รอบที่ 1 ทุกท่านตื่นขึ้นมาในตอนเช้า 5 ปีในอนาคต  รอบที่ 2 10 ปีในอนาคต รอบที่ 3 15 ปีในอนาคต สิ่งที่อยู่ในกระดาษขนาด 3 x 5 อาจเป็นวิสัยทัศน์ วาดภาพฝันก็ได้

ในการทำกิจกรรมกลุ่มแต่ละรอบประมาณ 15 นาที โดยให้พนักงานนึกถึงว่ากำลังเดินทางไปในอนาคต ถามพนักงานว่า “อะไรเกิดขึ้นในองค์กรของเรา และองค์กรของเราประสบความสำเร็จไหม” “เราดูแลลูกค้ากลุ่มไหนอยู่ตลาดโตขึ้นไหม” “อะไรคือความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่เราต่างจากคู่แข่ง เราเอาชนะคู่แข่งได้ไหม”

ผลลัพธ์ของวิสัยทัศน์ สำคัญมากเพราะ เราจะปิดช่องว่าง (Gap) ระหว่างวิสัยทัศน์กับความเป็นจริง โดย OKRs

ในตอนหน้าจะลงรายละเอียดเพิ่มเติมในการทำ OKRs ครับ ขอเวลาไปพักหน่อยครับ ขาระบมเต็มที

#SMEs Free Tool

# OKRs