Admin ได้มีโอกาสพูดคุยกับ HR director กับองค์กรแห่งหนึ่ง เรื่องการสร้างตัวชี้วัดสำหรับพนักงาน พบว่ามีตัวชี้วัดเยอะมาก กว่า 20 ตัว บางตัวก็เก็บเฉยๆไม่มีการให้น้ำหนัก บางตัวก็เป็นการวัดกระบวนการ และ ตัวชี้วัดจำนวนมากไม่ได้เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายองค์กร บางตัวก็อธิบายไม่ได้ว่าส่งผลต่อผลประกอบการอย่างไร
ในยุค COVID-19 ที่ทรัพยากรทุกอย่างจำกัด ทั้งเรื่องคน เรื่องเวลา การออกแบบตัวชี้วัดเพื่อวัดผลพนักงาน หรือ องค์กร ควรถามว่า ตัวชี้วัดเหล่านั้น Need to Have หรือ Nice to Have อันนี้ต้องถามว่า ทำแล้วผลประกอบการ หรือ ชีวิดพนักงานดีขึ้นอย่างไร จริงๆแล้ว การประเมินผลงานพนักงานช่วยให้ ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ทราบถึงปัญหาภายในองค์กร ออกแบบแผนการฝึกอบรมและการเลื่อนตำแหน่ง
ตัวชี้วัดเพื่อวัดผลงานพนักงาน.
การวัดผลงานพนักงานเป็นสิ่งที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน ดังนั้นไม่มีวิธีการที่เป็นสูตรสำเร็จสำหรับทุกองค์กร (no one size fits all) ดังนั้นการวัดผลพนักงาน บางทีก็เป็นเรื่องนามธรรม ซึ่งทำให้ยากในการประเมินสำหรับพนักงานในแต่ละระดับ
อย่างไรก็ตามมีตัวชี้วัดที่เป็นพื้นฐานทั่วไป ซึ่งต้องอาศัยวิธีในการประเมินเชิงคุณภาพด้วย ขอแนะนำตัวชี้วัดทั้ง 5 ที่เป็นพื้นฐานทั่วไป
ตัวชี้วัดที่ 1: ประสิทธิภาพในการทำงาน (Work Efficiency)
ตัวชี้วัดนี้มองถึงว่าพนักงานสามารถบริหารงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ภายใต้เวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างไร สิ่งสำคัญคือ ต้องวัดประสิทธิภาพของงานที่ทำ ตรวจสอบดูว่าเสร็จตามเวลาไหม หรือวัดให้ได้ว่ากระบวนการใดที่จะส่งผลให้งานไม่เสร็จตามเวลา ตัวชี้วัดนี้มุ่งวัดคุณภาพงาน มากกว่าปริมาณของงาน
ประสิทธิภาพโดยรวมวัดจาก ผลผลิตที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ(output) เทียบกับปัจจัยนำเข้าที่ได้รับ (input) เช่น การนำปริมาณงาน หารด้วย เวลาที่พนักงานทำให้สำเร็จ โดยเปรียบเทียบอัตราส่วนนี้ของพนักงานแต่ละคน หรือ พิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย (Job description) ชนิดและปริมาณงานที่ได้รับ เวลาที่ทำงานได้สำเร็จ และคุณภาพของงาน
การวัดประสิทธิภาพพนักงานจะทำให้ทราบถึงจุดที่ควรปรับปรุง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของกิจการ กิจการสามารถกำหนดกระบวนการประเมินผลงาน การวางแผนพัฒนาผลงานและการตั้งเป้าหมายในการปรับปรุง
ตัวชี้วัดที่ 2: คุณภาพของงาน (Quality of Work)
คุณภาพของงานวัดได้จากชนิดของงานและการทำงาน การวัดอะไรและอย่างไรขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม หน้าที่ความรับผิดชอบและงานที่ได้รับมอบหมาย
หากต้องการวัดผลิตภาพ คุณภาพอาจวัดจาก เปอร์เซนต์ของงานที่เสร็จ หรือ สินค้าที่ต้องมีการผลิตใหม่
สำหรับหน่วยงานที่มีการติดต่อกับลูกค้า ตัวชี้วัดที่แนะนำ เช่น Net Promoter Score (NPS) ซึ่งเป็นการวัดว่าลูกค้าของเราจะแนะนำผลิตภัณฑ์หรือ บริการให้กับบริษัทอื่นหรือไม่
คุณภาพของงานที่ต่ำส่งผลกระทบทั้งต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน การวัดคุณภาพของงานมีหลายๆวิธี เช่น
360-degree feedback: วิธีนี้เป็นการประเมินจากผู้ประเมินหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้จัดการ เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้า และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำงานกับพนักงาน ซี่งการประเมินจะทำให้เห็นภาพรวมของคุณภาพงาน
Manager feedback: การประเมินของหัวหน้ากับลูกน้อง (one-on-one) อย่างสม่ำเสมอในเรื่องงานจะช่วยพัฒนาในการทำงาน เช่น การที่หัวหน้าชื่นชมผลสำเร็จของงานในสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือ แนะนำลูกน้องในการปรับปรุงงาน
ตัวชี้วัดที่ 3: การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
ตัวชี้วัดเรื่องทีม มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรจำเป็นต้องส่งเสริม วัฒนธรรมในการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะการใช้ทีมในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน
ตัวชี้วัดนี้ไม่ใช่ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ แต่แผนก HR สามารถจัดทำแบบสำรวจเฉพาะกิจ ที่ไม่เกี่ยวกับการประเมินประจำปี คำถามอาจเป็น “ใครที่คุณอยากขอบคุณที่ช่วยให้คุณก้าวมาถึงวันนี้” อาจพิจารณาเพิ่มเติมจากโครงการที่พนักงานได้รับมอบหมายกับการที่ พนักงานอาสาทำโครงการเพิ่มเติม
ตัวชี้วัดที่ 4: ความสามารถในการเรียนรู้ (Learning Ability)
องค์กรและพนักงานที่สามารถเรียนรู้และปรับตัว การฝึกอบรมต้องออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของพนักงาน เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะต้องวัด ตัวอย่างตัวชี้วัด เช่น
อัตราความสำเร็จ (Completion Rates)
วัดความสำเร็จว่าพนักงานเรียนออนไลน์จนสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์ หรือ พนักงานทำกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมกับคอร์สที่เรียนขนาดไหน ทำการบ้าน หรือ ร่วมให้ความเห็น
ความก้าวหน้าของผู้เรียน (Learner Performance and Progress)
การวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน เช่น คะแนนที่ได้ หรือ การที่เรียนจนได้รับประกาศนียบัตร พนักงานเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากการฝึกอบรม พนักงานนำสิ่งที่เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในงานไหม ประเมินทักษะก่อนและหลังการฝึกอบรม ผ่าน ข้อทดสอบ แบบทดสอบออนไลน์ การประยุกต์ใช้ในงานหรือสถานการณ์จำลอง
ทักษะและความพร้อมของผู้เรียน (Learner Competency and Proficiency)
พนักงานต้องแสดงให้เห็นทั้งทักษะและความรู้ในการบรรลุผลลัพธ์ที่ปรารถนา ซึ่งผู้จัดการสามารถพัฒนาทักษะพนักงานได้จากการเรียนออนไลน์ การทดลองทำงาน หรือ สถานการณ์จำลอง ซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นในการประเมินทักษะพนักงาน และ อาจมีการติดตามหรือประเมินพัฒนาการที่ดีขึ้นหลังจากการฝึกอบรม
ตัวชี้วัดที่ 5: การยึดมั่นกับเวลา (Adherence to Timelines)
เวลาเป็นสิ่งสำคัญและมีคุณค่า ตัวชี้วัดที่สำคัญ อาทิ เช่น การส่งมอบงานตรงเวลา การเห็นคุณค่าในเวลาของผู้อื่น การปฎิบัติตามกำหนดการที่ตั้งไว้ การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดลำดับความสำคัญในงาน การปรับปรุงแผนงานเมื่อได้รับมอบหมายงานเพิ่ม
สำหรับสาเหตุที่พนักงานไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น อาจเกิดจากการขาดแรงจูงใจ หมดไฟ หรือ ปัญหาด้านสุขภาพ การที่พนักงานคนหนึ่งประสบปัญหาในด้านนี้ ก็จะเป็นการสร้างแรงกดดันสำหรับพนักงานท่านอื่น
สำหรับ OKR Software –Profit.co สามารถใช้ในการติดตามตัวชี้วัด ตั้งเป้า OKR ซึ่งเชื่อมไปสู่ระบบการประเมินแบบ 360 องศาใน software ด้วย
บทสรุป
ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งนายจ้างและพนักงานไม่ควรพิจารณาเฉพาะเป้าหมายเชิงตัวเลขเท่านั้น แต่ทั้งหมดคือ ความเป็นมนุษย์ซึ่งไม่มีตัวชี้วัดใดที่วัดได้ทั้งหมด การพิจารณาตัวชี้วัด ควรวัดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ องค์กรแต่ละแห่งต้องออกแบบตัววัดให้เหมาะสมกับพนักงานและองค์กรของคุณ
ขออนุญาต ประชาสัมพันธ์หลักสูตรใหม่ ประจำเดือน ก.ค.-ส.ค. 2565
คอร์ส Strategic OKRs with Right Strategy-6 ชั่วโมง เนื้อหาครอบคลุม Basic OKR, Success Case, OKR Canvas Tool, และ Workshop for Individual และ Team OKR.
สำหรับท่านที่จอง Inhouse Training ในเดือน ก.ค. จะได้รับ OKRs Consulting ฟรี 3 ชม.ผ่านระบบ Zoom
เครดิตบทความ https://www.profit.co/blog/performance-management/top-5-employee-performance-metrics-you-must-track/
อากาศเริ่มหนาวแล้ว รักษาสุขภาพ
สถานการณ์อยู่ในช่วงเฝ้าระวังอีก 2 สัปดาห์
การ์ดไม่ตก เที่ยวอย่างปลอดภัย ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
แล้วพบกันใหม่นะครับ สวัสดี