การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์มีผลกระทบต่อทุกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (behavioral economics) ในสถานที่ทำงาน
การปฏิสัมพันธ์(Reciprocity)
การปฏิสัมพันธ์เป็นแนวคิดของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมที่ช่วยอธิบายบรรทัดฐานสังคมที่พนักงานมีพฤติกรรมกับพนักงานอีกคนอย่างไร โดยยึดถึงพฤติกรรมในอดีต ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งและส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก โดยเฉพาะผู้จัดการที่ดีนั้น ต้องเข้าใจถึงความรู้สึกของลูกน้อง โดยสังเกต หรือ ใส่ใจในความทุกข์ ความสุขของพนักงาน ตลอดเวลา
การปฏิสัมพันธ์กับลูกน้องเกี่ยวกับ OKR อย่างไร
OKR ช่วยทำให้บริษัทสร้างวัฒนธรรมของพนักงานในการปรับตัวตามธุรกิจ โดยเห็นความคืบหน้าเป็นรายสัปดาห์ ด้วยแนวคิด OKR ที่มีการตั้งเป้าหมายและพยายามบรรลุเป้าหมายให้ได้ในแต่ละไตรมาส โดยเลือกเฉพาะมุ่งเน้นงานที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆก่อน ตลอดจนผลักดันไปสู่ความสำเร็จ กรอบแนวคิด OKR นี้จะถูกฝังเข้าไปในทุกช่วงของชีวิตการทำงาน
กระบวนการนำ OKR จะเริ่มจากการ check-in รายสัปดาห์ ซึ่งพนักงานจะรายงานความคืบหน้าตาม PPP framework
Progress อาทิตย์ที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วและบรรลุผลแค่ไหน
Planning แผนงานที่จะทำในสัปดาห์ต่อไป และ
Problem ปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการให้หัวหน้าช่วยแก้ไข
หัวหน้ามีหน้าที่ในการชมเชย ถ้าลูกทีมทำได้ดี สร้างบรรยากาศเชิงบวก ที่เป็นมิตร และสร้างความร่วมมือระหว่างพนักงาน
หลักแห่งการปฏิสัมพันธ์ คือ การดูแลลูกทีม เหมือนกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติกับเราในลักษณะเดียวกัน การสร้างระบบที่กระตุ้นให้มีพฤติกรรมเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็น
นอกจากนี้ควรสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สร้างความไว้วางใจกับลูกค้าโดยช่วยเหลือ และทำให้แบรนด์หรือบริษัทของเราเข้าไปนั่งในใจลูกค้า ซึ่งถ้าทำได้ก็จะเกิดการบอกต่อ และสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต
ขอ Tie-in นิดนึงครับ
สำหรับ profit.co okr software มี function ที่ช่วยในการ update PPP framework รายสัปดาห์และยังสามารถให้ reward พนักงานในลักษณะ gamification เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องสนุก
สำหรับค่าใช้จ่าย software 7 USD/คน/เดือนครับ
https://www.profit.co/pricing/
สุดท้ายแล้ว อย่าลืมไปจองฉีดวัคซีนนะครับ ผมเชื่อว่าถ้าพวกเราฉีดวัคซีนกันมากพอ เราจะได้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ในอีก 3 เดือนข้างหน้าแน่นอน
สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้า
เครดิตเนื้อหา : https://www.profit.co/blog/behavioral-economics/the-law-of-reciprocity-in-business/