ในตอนนี้จะพูดถึงอีก 2 คำถาม เพื่อวัดว่าองค์กรคุณพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงขนาดไหน
3.กลไกขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง (Drivers for change)
ความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องมีกลไกที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น กลไกเหล่านั้นอาจจะมาจากภายในหรือภายนอกองค์กร กลไกภายใน เช่น การผลักดัน(push) ให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่าสภาพการทำงานแบบเดิมๆสามารถที่จะบรรลุความคาดหวังหรือมาตรฐานของลูกค้าได้ ซึ่งสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ๆ
ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู
• แนวโน้มตลาด การเปลี่ยนแปลงของตลาดส่งผลต่อธุรกิจของคุณอย่างไร การมีคู่แข่งใหม่ๆ พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆส่งผลกระทบอย่างรุนแรง(disrupt) ต่อธุรกิจของคุณหรือไม่
• การตอบสนองความต้องการของลูกค้า คุณได้รับข้อมูล(feedback)ของลูกค้าที่แนะนำให้มีการเปลี่ยนแปลงไหม ลูกค้าถามถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ หรือแสดงให้เห็นว่าพวกเขายังรู้สึกไม่เพียงพอในบริการที่คุณให้หรือไม่
• ข้อมูล(feedback)จากพนักงาน พนักงานของคุณอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง พวกเขาได้เสนอแนวทางปรับปรุงกระบวนการหริอเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลมากขึ้นหรือไม่
• ผลประกอบการทางธุรกิจ ธุรกิจของคุณมีปัญหาทางการเงินหรือไม่ ยอดขายลดลงไหม หรือ ต้นทุนเพิ่มขึ้น มีแผนกหรือส่วนงานไหนในธุรกิจที่ไม่ทำกำไร
• การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ มีกฎระเบียบใหม่ๆหรือกฎหมายที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ การที่คุณต้องปรับการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ๆส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณอย่างไร
• ความไม่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร มีส่วนงานไหนในธุรกิจที่บริหารงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพบ้าง มีกระบวนการที่ซ้ำซ้อนไหม มีทรัพยากรใดๆที่ใช้อย่างสูญเปล่า
• โอกาสใหม่ภายนอกองค์กร มีโอกาสภายนอกใดที่คุณสามารถขยายธุรกิจผ่านการหาพันธมิตรหรือร่วมทุนบ้าง มีโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่หรือการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆไหม
• แรงผลักดันจากคู่แข่ง คู่แข่งของคุณดำเนินการอะไรบ้างที่ส่งผลต่อธุรกิจของคุณ คู่แข่งของคุณเข้าสู่ตลาดใหม่หรือออกสินค้าหรือบริการใหม่ๆบ้างไหม
โดยการทบทวนคำถามข้างต้น จะเป็นการสำรวจว่าธุรกิจของคุณมีกลไกที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงได้ดีเพียงใด ถ้าข้อใดที่คุณตอบว่าไม่ ก็เป็นโอกาสในการที่คุณจะต้องเข้าไปจัดการและสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปข้างหน้าต่อไป
4.แผนปฏิบัติการ
เมื่อคุณกำหนดวิสัยทัศน์ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นและทุกคนในองค์กรรับรู้แล้ว สิ่งสำคัญคือการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนองค์กรจากปัจจุบันไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ คุณต้องเข้าใจว่าความสำเร็จหรือการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดชั่วข้ามคืน มันจำเป็นต้องมีการวางแผนและการนำไปปฏิบัติที่ดีเช่นเดียวกัน
ลองประเมินตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้ดู
• เราเข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี การระบุปัญหาหรือโอกาสให้ชัดเจน และทำให้ทุกคนเช้าใจว่าประเด็นใดที่ต้องให้ความสำคัญ
• กำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกำหนดและดำเนินโครงการใหม่ๆที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
• วิเคราะห์ช่องว่างในการพัฒนา ดำเนินการวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างสถานะปัจจุบันกับเป้าหมายที่ต้องการไปถึง สิ่งนี้จะช่วยให้เราระบุถึงสิ่งที่ควรให้ความสนใจเพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมาย
• พัฒนาแผนปฏิบัติการ จำเป็นต้องออกแบบแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริง บรรลุได้ ประกอบด้วยเวลาและงานที่ส่งมอบ
• ระบุหรือจัดลำดับความสำคัญ จำเป็นต้องระบุว่าอะไรคือก้าวแรกที่ต้องดำเนินการ การจัดลำดับความสำคัญให้พิจารณางานที่ทำแล้วส่งผลกระทบหลักต่อองค์กร
• กำหนดผู้รับผิดชอบและความเป็นเจ้าของงาน กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของแผนและต้องมั่นใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้ถึงหน้าที่ของตน สร้างความเป็นเจ้าของงานสำหรับผู้เกี่ยวข้อง
• สื่อสารอย่างมีประสิทธิผล สื่อสารถึงแผนปฎิบัติการและให้ทุกคนเกี่ยวข้องตั้งแต่การร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการ ต้องมั่นใจว่าทุกคนเข้าใจในแผน วัตถุประสงค์และบทบาทที่พวกเขาจะร่วมกันในการทำให้บรรลุเป้าหมาย
• ติตตามความก้าวหน้าและปรับเปลี่ยน ถ้าจำเป็น ติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการและต้องยืดหยุ่นเพียงพอในการปรับเปลี่ยนถ้าสิ่งที่ดำเนินการไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
ลองประเมินการบริหารงานในองค์กรดูว่า ในแต่ละขั้นตอนมีช่องว่างอะไรหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง เราต้องสร้างความมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และเมื่อนั้นจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น
Admin หวังว่าชุดคำถามเหล่านี้จะทำให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทำการประเมินองค์กรของตนดูว่า เราพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และมีช่องว่าใดบ้างที่เป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป
สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่
Credit บทความ profit.co