EP 17: ทำอย่างไรให้ยอดขายเพิ่ม 10 เท่า? (ตอนที่ 5)
สำหรับสัปดาห์นี้จะลงรายละเอียดของ OKRs จากหนังสือ best sellers Measure What Matters ซึ่งจุดเด่นประการที่สี่ คือ OKRs ช่วยให้ Stretch for Amazing ตั้งเป้าหมายที่ให้เกินเอื้อม ซึ่งหากบรรลุแล้วจะสร้างความมหัศจรรย์
มี quote ที่โปรยหัว คือ “The biggest risk of all is not taking one” ความเสี่ยงสูงสุดคือ การไม่เลือกที่จะเสี่ยงทางใดทางหนึ่งเลย
Susan Wojcicki, CEO ของ YouTube ใช้ Stretch goal ในการผลักดัน YouTube สู่บริษัทระดับโลก YouTube ถูก Google ซื้อไปตั้งแต่ในปีแรกๆของการก่อตั้งด้วยเงินสูงถึง 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ Susan มีบทบาทในการพัฒนา Google ตั้งแต่แรก และเป็นพนักงานลำดับที่ 16 ของ Google Susan เป็นคนที่บอกให้คณะกรรมการของ google ซื้อ YouTube ซึ่งในตอนนั้น เธอเชื่อว่า online video จะมา disrupt ธุรกิจทีวี
ในปี 2012 YouTube เป็นผู้นำตลาดและ เป็น video platform ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่การพัฒนาด้านนวัตกรรมต่างๆเริ่มช้าลง Susan รู้ว่าถ้าไม่ทำอะไร จะตามคู่แข่งที่มีมากมายไม่ทัน ในปี 2014 Susan ก้าวขึ้นเป็น CEO ของ YouTube และตั้งเป้าหมายที่สุดจะท้าทาย โดยกำหนดไว้ว่า ในอีก 4 ปีข้างหน้า จะต้องมีคน 1,000 ล้านคนดู YouTube ทุกวัน ซึ่งเป้าหมายนี้คือต้องการเติบโตสิบเท่า(10 X) จากปัจจุบัน แต่ Susan ไม่ต้องการให้มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น การที่พร้อมต่อสู้เพื่อเป้าหมายที่ท้าทาย ทำให้บุคลากรในองค์กรเล็งเห็นถึงความเร่งด่วนที่เกิดขึ้นและเป็นการพัฒนาศักยภาพอย่างก้าวกระโดดของพนักงานแต่ละคน ถึงวันนี้มีประชากร 1 ใน 3 ของโลก ดู YouTube ทุกวัน ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ด้วยความบังเอิญ หรือวิสัยทัศน์ของใครคนใดคนหนึ่ง มันเกิดจากความพยายามอย่างต่อเนื่องหลายๆปี การใส่ใจในรายละเอียด และโครงสร้างและวินัยในการนำ OKRs ไปใช้อย่างจริงจัง
Susan มองว่าจริงๆแล้ว OKRs เหมาะกับองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นซึ่งสามารถใช้ OKRs ในการสร้างวัฒนธรรม แต่องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ OKRs ในการพลิกฟื้นธุรกิจก็สามารถทำได้ สิ่งสำคัญคือ ผู้นำองค์กรต้องเอาจริงและมีผู้บริหารระดับรองลงมาที่เอาจริงและผลักดันให้เกิดขึ้น
OKRs จะเป็นส่วนผสมของ Top down และ bottom up ในลักษณะ give-and-take ผู้บริหารระดับสูงจะบอกว่า สิ่งนี้คือเป้าหมายที่จะมุ่งไป สิ่งสำคัญคือคนในทีมต้องช่วยคิดวิธีที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายอันยิ่งใหญ่นั้น
การทำ OKRs นั้นใช้ทฤษฎี Big Rocks Theory คือ มีเป้าหมายที่จะต้องบรรจุหิน กรวด และทราย ลงในโหลแก้วให้มากที่สุด สิ่งที่ต้องทำก่อนก็คือใส่หินก้อนใหญ่ ลงไปก่อน ตามด้วย กรวด และใส่ทรายลงไปตอนสุดท้าย ลองมาดู OKRs ของ YouTube กัน
Objective: Reach 1 billion hours of watch times per day (by 2016), with growth driven by:
Key Results:
- Grow engagement and gaming watch time (X watch hours per day)
สำหรับ Key Results ที่สำคัญข้อนึงคือการให้คนดู YouTube นานขึ้น(watch time) ถ้ามีคนดูนานขึ้น ก็เพราะมีความสุขที่ได้ดู content ดีๆ ก็จะทำให้มีโฆษณาเข้ามากขึ้น รายได้คนผลิต content ดีขึ้น ก็ส่งผลให้มี content ดีๆเข้ามามากขึ้น กลายเป็นวงจรไม่สิ้นสุด
นอกจากนี้การมี OKRs จะทำให้ทุกคนต้องคิดร่วมกันมากขึ้น ในกรณีของ YouTube การมีคนดูถึงพันล้านคน ตอนแรกนั้น ในบริษัทก็จะเริ่มตั้งคำถามถึงโครงสร้างทางคอมพิวเตอร์หรือ Network ว่าถ้าคนมาดูขนาดนั้น ระบบจะรับไหวไหม ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไปทั้งบริษัทให้คิดในภาพใหญ่มากขึ้น (Thinking Bigger)
จริงๆแล้วเป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้ทุกคนมีความคิดที่สอดคล้องกัน (align) มุ่งเน้น (focus) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันท้าทายนั้น และนอกจากนั้นก็ต้องแสดงให้เห็นผลลัพธ์ ด้วยว่า ตอนนี้เราบรรลุเป้าหมายไปแค่ไหนแล้ว
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ
แก้เครียดครับ เรามาดูบทสัมภาษณ์ของ CEO YouTube กันถึง Lifestyle และปรัชญาการทำงานครับ
สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
#SMEsFreeTool
#OKRs