EP 19:  Doing what matters กับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกัมพูชา

Thank god it’s Friday และ วันหยุดต่อเนื่องในวันจันทร์

เมื่อเร็วๆนี้ได้มีโอกาส ไปทำ Roadmap อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกรุงพนมเปญครับ ได้เห็นพัฒนาการหลายอย่างที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ถนนหนทางในกัมพูชา ดูสะอาด กว้างขวาง มีห้างสรรพสินค้าใหม่ๆ คอนโดเกิดขึ้นมากมาย แต่จริงๆแล้ว แอบชอบรถตุ๊กๆ ที่แลดูสะอาดและไฮโซ น้องที่ไปด้วยบอกว่าสภาพถนนดีกว่าที่กรุงเทพฯอีก

การที่กัมพูชาพัฒนาได้อย่างรวดเร็วอาจเป็นเนื่องจากสภาพการเมืองที่นิ่ง สงบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ และจากการเดินทางไปรอบๆ CLMV ก็พบว่า ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก อีกไม่นานคงแซงไทยแน่ๆ ก็ได้แต่หวังว่า การเมืองหลังเลือกตั้ง ประเทศจะพบแต่ความสงบสุข (งง ! วกเข้าไปเรื่องการเมืองได้ไง)

จากข้อมูลของ World Travel & Tourism Council ในปี 2017 อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของกัมพูชามีสัดส่วนถึง 32.4 % ต่อ GDP (ของไทย 21.2 %)  และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ของไทย 95 พันล้านเหรียญสหรัฐ)  ไม่น่าเชื่อว่ากัมพูชาพึ่งพิงรายได้ทางด้านการท่องเที่ยวมากกว่าประเทศไทย

นักท่องเที่ยวต่างชาติเยือนกัมพูชา 5.6  ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 1.2 ล้านคน โดยมี average length of stays ที่ 6.6 วัน มีนักท่องเที่ยวเยือน Siem Reap 1.8 ล้านคน จริงๆ คงไปดู Angkor Wat  ซึ่งฝรั่งบอกว่าอลังการมากต้องไปดูก่อนตาย

มองลึกลงไปในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มทุนไทย (Bangkok Dusit Medical Services Group-BDMS) เข้าไปลงทุนพัฒนา Royal Phnom Penh Hospital จนได้รับมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับสากล (Joint Commission International-JCI) แต่เมื่อเทียบกับไทย กัมพูชามีโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานสากลดังกล่าวเพียงหนึ่งแห่ง ในขณะที่ไทยมีสูงถึง 66 แห่ง

ในการทำ Workshop ก็จะพบปัญหา Classic ของ SMEs คือ การขาดความรู้ในการบริหารการเงินของกิจการ การเข้าถึงแหล่งเงินกู้  นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่รู้ถึงจุดขายของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกัมพูชา ไม่มีการกำหนดมาตรฐานด้านสปาในประเทศ และขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ

สิ่งสำคัญในการจัดทำแผนแม่บท ต้องพิจารณาทำสิ่งที่จำเป็นก่อน (Doing what matter)  ทางรัฐบาลกัมพูชา ต้องกำหนดจุดขาย (Unique selling point)ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ว่าจะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ทั้งไทยและเวียดนามอย่างไร สร้างระบบนิเวศน์ (Eco system) เพื่อส่งเสริม SMEs ทั้งการให้นักธุรกิจเรียนรู้ผ่าน E-learning และ การสนับสนุน Special loan ที่มีดอกเบี้ยต่ำสำหรับกลุ่มดังกล่าว ซึ่งมาตรการเหล่านี้ต้องคิดให้ครบและตรงจุด

กัมพูชาอาจต้องเน้นไปที่ long-term healthcare หรือ กลุ่ม retirement ซึ่ง positioning ต้องชัดเจน ตอบโจทย์ให้ได้ว่าทำไมต้องมากัมพูชา จริงๆ แล้วกัมพูชา ค่อนข้างได้เปรียบในแง่ที่มีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอยู่ ถ้าสามารถผนวกการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เข้ากับ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ ค่าครองชีพที่ถูกกว่า ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ด้านการท่องเที่ยวได้อีก

วันหยุดยาวเที่ยวให้สนุก และขับรถอย่างระมัดระวังนะครับ

#SMEsFreeTool

#Cambodia

#MedicalandWellnessTourism