สวัสดีเช้าวันพุธครับ ตอนนี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ ค่าย GM กำลังถอนตัวออกจากประเทศไทย รถหลายรุ่นลดราคา 50 % ต้องรีบไปจองรถละครับ เข้าเรื่องก่อนดีกว่าครับ
ตอนนี้ผ่านมา ถึงกลางไตรมาสแรกของปีนี้แล้วครับ เป้าหมายต่างๆที่ตั้งไว้เป้นอย่างไรบ้าง
สิ่งที่เรามักพบคือ มักมีการตั้งเป้าหมายที่ต่ำเกินไป จริงๆ แล้ว สอดคล้องกับเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral economics) ซึ่ง Daniel Kahneman เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวไว้ว่า
ผู้คนมักกล้วในเรื่องการที่จะสูญเสียมากเป็นสองเท่าเมื่อเที่ยบกับโอกาสที่จะได้รับผลประโยขน์ใหม่ๆ (humans by instinct are twice more driven to avoid losses and disadvantaged than to achieve gains and advantages)
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการตั้งเป้าหมาย
ในการตั้งเป้าหมาย เรามักจะตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ง่าย(easily attainable) เพราะว่าถ้าตั้งเป้าหมายให้สูงแล้วบรรลุไม่ได้ ก็จะรู้สึกเหมือนว่าเราสูญเสีย
เพราะฉะนั้นเป้าหมายส่วนใหญ่ จะเป็นการตั้งเป้าในเชิงอนุรักษ์ ไม่ท้าทาย และ อยุ่ในระดับเฉลี่ยๆทั่วไป และ ไม่ได้พาเราไปสู่เป้าหมายอะไรที่ยิ่งใหญ่และท้าทาย
ดังนั้นก่อนที่จะตั้งเป้าหมายในไตรมาสต่อไป หรือ เป้าหมายของชีวิต ลองทบทวน 4 คำถามนี้ก่อน ครับ
1. ถามตัวเองว่าเรากลัวอะไร (Define Your Fears)
เริ่มโดยถามตัวเองก่อนว่า “อะไรที่เรากลัว?” มันจะช่วยให้เราตระหนักและระบุปัญหาหรือสถานการณ์ที่ทำให้เรากลัว ซึ่งจะทำให้คุณเห็นภาพของปัญหาต่างๆชัดเจน
2. ลองใช้เทคนิคในการกำจัดความกลัว (Employ the Fear-Setting Techniques)
2.1 ลองคิดถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่เรากลัว บางทีก็ประเมินถึงผลลัพธ์ที่เลวร้ายเกินจริง(overestimate) ถ้าเราล้มเหลว จะเกิดอะไรขึ้น เช่น เงินออมหายหมด ไม่มีเงินส่งค่าเทอมลูก ต้องกลับไปทำงานประจำอันน่าเบื่อ list ผลลัพธ์ต่างๆขึ้นมา ซึ่งจะทำให้คุณย้ายจากความกลัวที่ไร้เหตุผลไปสู่โลกความจริงที่เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
2.2 มีแผนฉุกเฉิน แทนที่จะจมอยู่กับความกลัวอันไร้เหตุผล ลองสร้างแผนฉุกเฉินที่คุณทำได้เพื่อป้องกันความล้มเหลวในอนาคต คุณไม่สามารถวางแผนเพื่อป้องกันทุกความเสียหายได้ แต่คุณสามารถป้องกันอุปสรรคที่คุณเห็นในขณะนี้ได้ อาจมีแผน B หรือ แผน C ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้คุณก้าวไปข้างหน้า
2.3 ลองประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาส ถ้าคุณไม่ทำอะไร (Determine the Opportunity Costs of Your Inactions) ในชีวิตจริง ถ้าคุณเลือกทำอย่างนึง ก็หมายถึงคุณปฏิเสธอีกทางเลือกหนึ่ง โอกาสบางอย่างดูไม่สำคัญ แต่คิดให้ดีมันแพงมากถ้าเราพลาดไป ลอง Reframe หรือ ทบทวน ว่าโอกาสที่หายไป น่าจะสำคัญกว่า การทำอะไรเดิมๆหรือเป้าหมายง่ายๆที่บรรลุได้
3.ตั้งเป้าที่รุกไปข้างหน้ามากกว่าแค่ตั้งรับ (Set Promotion Rather Than Prevention Goals)
เวลาเราเล่นเกม น่าจะเป็นเกมรุก มากกว่าแค่ตั้งรับ หรือ ป้องกัน
4. ถ้ามันล้มแล้ว จะทำไม (Re-define what it Means To Fail)
จริงๆแล้ว ชีวิดเราไม่สามารถหลีกหนีความล้มเหลวได้ และ จริงๆแล้ว ความล้มเหลวเป็นส่วนสำคัญ ที่เราต้องใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อก้าวข้ามไป ทุกความล้มเหลว สร้างโอกาสสู่ความสำเร็จ และเป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการมุ่งสู่ความสำเร็จ
การตั้งเป้าหมายที่ต่ำเกินไป เป็นการปล้นความสำเร็จ หรือ ทำลายโอกาสที่จะเติบโต
Norman Cousin, นักข่าวสายการเมืองชื่อดังชาวอเมริกัน, กล่าวไว้ว่า ความตายไม่ใช่สิ่งที่เป็นความสูญเสียครั้งใหญ่สุดในชีวิต แต่ความสูญเสียที่มากกว่าคือ เราตายทั้งที่ยังมีชีวิต
(Death is not the greatest loss in life. The greatest loss is what dies inside us while we live”
หวังว่า บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการตั้งเป้าหมายชีวิตและเป้าหมายองค์กรนะครับ
เครดิตเนื้อหา www.profit.co
มีข่าวดี update ครับ ตอนนี้ OKR software ของเรา support ภาษาไทยได้แล้วครับ
สนใจ OKR software ตาม link นี้เลยครับ
#https://www.profit.co