กระบวนการที่ทำให้การใช้ OKR ประสบผลสำเร็จ สามารถเรียกสั้นๆได้ว่า PEEL approach ซึ่งก็คือ
1.Plan (วางแผน OKRs)
สำหรับในกระบวนการนี้ การวางแผน OKRs เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เราต้องตั้งวัตถุประสงค์ให้มีความท้าทาย ทั้งสำหรับตัวเองและบริษัท ในกระบวนการนี้ต้องมีการประชุมระดมความเห็นเรื่องเป้าหมาย มองว่าตอนนี้บริษัทอยู่ที่ระดับไหน และ มุ่งหวังว่าเป้าหมายใดที่บริษัทจะบรรลุในปลายไตรมาสนี้ เป้าหมายที่จะบรรลุในปลายปี จากนั้นต้องเชื่อมโยง (alignment) ให้มีความสอดคล้องจากระดับองค์กร สู่ระดับแผนก และระดับบุคคล นอกจากนั้นความสำเร็จของ OKRs เป็นผลงานของหลายๆแผนกที่ต้องร่วมมือกัน ต้องคิดต่อว่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง

2. Execute (ดำเนินการ OKRs)
หลังจากผ่านกระบวนการวางแผนไปแล้ว ลำดับต่อมาคือการทำกิจกรรมให้ OKRs บรรลุผล ซึ่งต้องมีกิจกรรมที่ติดตามความคืบหน้า (check-in) รายสัปดาห์ ซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นช่วงที่คุณสามารถแบ่งปันความคิดและแจ้งความคืบหน้ากับผู้บริหารหรือทีมงาน

สำหรับรูปแบบการประชุมความคืบหน้ารายสัปดาห์ แนวทางที่จะใช้ คือ PPP-progress, plan, problem สัปดาห์ที่ผ่านมากิจกรรมใดมีความคืบหน้าไปแล้วบ้าง แผนงานที่จะทำในสัปดาห์ถัดไป และ ปัญหาที่เกิดขึ้น

การใช้ OKR software จะช่วยในการสรุป dashboard เพื่อติดตามความคืบหน้าของ OKRs ทั่วทั้งองค์กร อย่างเป็นระบบ มองเห็นภาพใหญ่ และจะรู้ว่าหน่วยงานใด มีความคืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้การใช้ software จะช่วยในการเจาะลึกลงไปในระดับกิจกรรมได้ด้วย

3. Engage (สร้างความมีส่วนร่วมกับพนักงาน)
การใช้ software จะช่วยในการสร้างความมีส่วนร่วมระหว่างพนักงาน ผู้บริหารและทีม อาจมีการมอบคูปองหรือของที่ระลึกสำหรับพนักงานที่สามารถบรรลุเป้า หรือ ทำกิจกรรมได้สำเร็จ software ช่วยให้การทำงานเป็นในลักษณะของ gamification การมอบรางวัลเล็กๆน้อยๆ การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ จะไม่ทำให้งานเครียดเกินไป

4. Learn (เรียนรู้ความสำเร็จและความล้มเหลว จากกระบวนการทำงาน)
สำหรับกระบวนการสุดท้ายจะเป็นการสะท้อน (reflect) ถึงประสบการณ์ในการใช้ OKRs ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้พนักงานเรียนรู้ และ ตระหนักถึงการกำหนดเป้าหมายในไตรมาสต่อไป ถึงแม้ว่า OKRs บางตัวที่เป็นเป้าที่ท้าทายและไม่สามารถที่จะบรรลุได้ในไตรมาสที่ผ่านมา แต่พนักงานก็จะเริ่มเรียนรู้ นอกจากนี้พนักงานก็จะรู้ว่าการดำเนินการหรือกิจกรรมใด เหมาะสมเพียงใดก็จะสามารถปรับปรุงได้ในไตรมาสถัดไป

การนำ OKRs มาใช้ในองค์กรไม่มีทางลัด ต้องทดลองทำอย่างน้อย 1 ไตรมาส สร้างให้พนักงานมีส่วนร่วม เติบโตและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

เครดิตบทความ https://www.profit.co/blog/okr-university/peel-approach-to-okrs/
อากาศเริ่มหนาวแล้ว รักษาสุขภาพ
แล้วพบกันใหม่นะครับ สวัสดี