ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า paradigm shift ในโลกของการทำงาน การทำงานจากที่ไหนก็ได้กลายเป็นเรื่องปกติ แน่นอนผู้บริหารจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์สำหรับการบริหารงานในรูปแบบใหม่เช่นเดียวกัน
แอนดรูว์ คาร์เนกี นักอุตสาหกรรม นักธุรกิจและผู้ประกอบการชาวสกอต-อเมริกัน ผู้นำการขยายตัวอย่างใหญ่หลวงของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าอเมริกาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวไว้ว่า
“ความเป็นทีม คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกันเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์เดียวกัน ความสามารถในการนำความสำเร็จเฉพาะบุคคลไปสู่เป้าหมายองค์กร ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนพลังของคนธรรมดาไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ธรรมดา”
ผลสำรวจของพนักงานก่อนยุคโควิด ระบุว่า 99% ของพนักงานต้องการทำงานนอกสำนักงานอย่างน้อยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งฝันนั้นได้กลายเป็นจริงแล้ว บริษัทขนาดใหญ่ เช่น แอปเปิ้ล ไมโครซอฟท์ กูเกิล ได้เริ่มให้พนักงานทำงานนอกสำนักงาน และ คาดหมายได้ว่าแนวโน้มนี้จะยาวออกไป
ผลงานวิจัยอื่น ระบุว่าการทำงานนอกสถานที่จะเพิ่มขึ้น 44 % และ 91 % ในระยะ 5 และ 10 ปี และผู้จัดการจำเป็นต้องหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานภายใต้สถานการณ์ใหม่ แต่สิ่งนี้ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะเป็นการทำงานที่ไม่มีการปฎิสัมพันธ์กันโดยตรง ในรูปแบบการทำงานใหม่นี้ต้องมีการวิจัย การกระจายทรัพยากร การวางแผนที่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพ
9 กลยุทธ์ในการบริหารผลงานพนักงานและทีมที่ WFH
1.เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Adoption of Transformational Leadership Style)
ผู้จัดการควรเป็น ตัวอย่างที่ดี (role model) ของพนักงาน โดยการสร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยี และการสร้างตัวชี้วัดผลงานที่เหมาะสม ซึ่งผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่สร้างความมีส่วนร่วมและสร้างแรงจูงใจต่อพนักงาน
ภายใต้สภาวะ WFH ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีบทบาทในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ สร้างวัฒนธรรมที่เปิดรับสิ่งใหม่ และสื่อสารได้เป็นอย่างดีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเพื่อเอาชนะ การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ่น โดยมีการมอบหมายที่ดี และ สร้างกระบวนการตัดสินใจเพื่อสร้างไปสู่การเติบโตขององค์กร
2. สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovative Organizational Culture)
ในทุกๆองค์กร กลุ่ม Millennials ซึ่งอายุระหว่าง 23-39 ปี เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในองค์กร ซึ่งกลุ่มนี้ต้องการผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำต้องช่วยสร้างความมีส่วนร่วมและสร้างแรงบันดาลใจ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมนี้จะต้องส่งเสริมแนวปฎิบัติที่สร้างความมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในองค์กร
ประสิทธิภาพของการทำงาน WFH นี้ขึ้นอยู่กับ หลักปฎิบัติ คุณค่า ความเชื่อของพนักงานแต่ละคน ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้จะมีการควบคุมที่ลดลง
การสื่อสารด้วยการพูดและท่าทางกับพนักงาน ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารผลงานพนักงาน สิ่งนี้จะช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวและสื่อสารเป้าหมายองค์กรสู่เป้าหมายพนักงาน จากผลสำรวจพบว่า ภายใต้ WFH มีโอกาสสูงถึง 22 % ทีพนักงานจะไม่สามารถจดจ่อกับงาน (unplug) 19 % ของพนักงานรู้สึกโดดเดี่ยว และ 17 % รู้สึกว่าความร่วมมือและการประสานงานเป็นเรื่องท้าทาย
ดังนั้นการที่ผู้จัดการสื่อสารถึงเป้าหมายการทำงานของพนักงานแต่ละคนจะช่วยให้พนักงานมุ่งเป้าและ ตระหนักถึงวิธีการที่จะบรรลุอย่างมีประสิทฺธิผลที่สุด
การตอบแทนความทุ่มเทของพนักงานทั้งในรูปเงินและผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเน้นย้ำวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งผลลัพธ์ ตัวชี้วัดด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ใหม่ๆ ควรเป็น ตัวชี้วัดด้านการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน การลดอัตราการลาออกและการบรรลุเป้าหมายองค์กร
3.เข้าใจลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs and Employees Motivation)
ในการบริหารผลงานพนักงาน ผู้จัดการต้องเข้าใจถึงลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ทั้ง 5 การตอบสนองความต้องการของพนักงานจะช่วยในการปรับปรุงผลงานในด้านการเพิ่มผลิตภาพโดยเฉพาะในสภาพ WFH
พนักงานต้องการโอกาสการเติบโตในงานและการพัฒนาชีวิตของตนให้สมบูรณ์ (self-fulfillment) ซึ่งเป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมาสโลว์ ดังนั้น HR หรือผู้จัดการต้องมีความเข้าใจในหลักของมาสโลว์ และพัฒนาไปสู่การปลดปล่อยศักยภาพของพนักงานอย่างเต็มที่
4. สำรวจความเห็นของพนักงานเป็นระยะ (Scheduled Surveys to Collect Feedback)
การสำรวจเป็นประโยชน์ในการรวบรวมความเห็นของพนักงานทั้งนโยบายองค์กรในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในอนาคต จากผลวิจัยพบว่า พนักงานเพียง 40 % เชื่อว่าองค์กรนำผลการสำรวจไปพัฒนาองค์กร การสำรวจความเห็นพนักงานรายไตรมาสและรายปีเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน
สำหรับกลยุทธ์อีก 5 ข้อ โปรดติดตามตอนต่อไป
เครดิตบทความ
admin ขอลาไปเที่ยวก่อน
สวัสดีปีใหม่ ขอให้ทุกท่านมีความสุข
ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย การ์ดไม่ตก
แล้วพบกันปีหน้านะครับ สวัสดี