9 กลยุทธ์ในการบริหารผลงานพนักงานและทีมที่ WFH
5. เข้าใจกลยุทธ์ในการสื่อสารเมื่อพนักงาน WFH (Communication Strategies for Remote Workers)
การสื่อสารที่มีประสิทธิผลกับเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จากผลวิจัยของพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ระบุว่า การสื่อสาร โอกาสทางสังคมและความเหงาเป็นสิ่งที่พนักงานเผชิญ 3 อันดับแรก
รูปแบบการสื่อสารที่นิยมโดยทั่วไป คือ แชท วีดิโอคอนเฟอร์เร้นท์ อีเมล์และการพบกันผ่านทางออนไลน์ เราจะสามารถเพิ่มความมีส่วนร่วมของพนักงานโดยสร้างวัฒนธรรมแห่งความร่วมมือและต้องระบุ ความท้าทาย ความต้องการและความคาดหวังของพนักงานอย่างเปิดเผย ผู้จัดการควรส่งเสริมให้พนักงานและทีมมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ให้พนักงานให้ความเห็นต่อนโยบายของบริษัทอย่างตรงไปตรงมา การใช้ใจฟังความเห็นพนักงานอย่างตั้งใจจะช่วยลดความขัดแย้งทั้งระหว่างหัวหน้ากับพนักงาน และระหว่างพนักงานเอง
6.เข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆในการบริหารงานทางไกล (Understanding New Technologies to Manage Remote Work)
เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญให้บรรยากาศการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการสำรวจพนักงานฟรีแลนซ์ในสหรัฐอเมริกา ในปี 2019 มีจำนวนถึง 57 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 35 % ของคนทำงานทั้งประเทศ มีการคาดหมายว่าจะมีจำนวนฟรีแลนซ์สูงถึง 64.6 ล้านคน ในปี 2020 และ 90.1 ล้านคนในปี 2028 ตามลำดับ
จากรายงานระบุว่า มากกว่าครึ่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องการว่าจ้างฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้จัดการต้องสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการของฟรีแลนซ์และพนักงานประจำได้ เทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมคือ Zoom Slack และ FormStack
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ พนักงานที่ทำงานทางไกลต้องการเครื่องมือที่แตกต่างกัน อุปกรณ์มือถือ เครื่องมือในการสื่อสาร ซอฟท์แวร์บริหารโครงการ และ เครื่องมือในการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน ผู้จัดการมีหน้าที่ในการระบุเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จำเป็น องค์กรควรจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับความต้องการของงานและความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคน
7.ทำการประเมินและทบทวนประสิทธิภาพการทำงาน (Conducting Performance Evaluation and Reviews)
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ กูรูชื่อดัง กล่าวไว้ว่า “คุณไม่สามารถบริหารได้ ถ้าคุณวัดผลสิ่งนั้นไม่ได้” วิธีในการประเมินผลงานพนักงานของผู้จัดการมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการบริหารผลงาน ซึ่งการประเมินผลงานต้องประเมินเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนเริ่มต้น
การประเมินผลต้องมีการออกแบบระบบที่ชัดเจน ตัวชี้วัดและวัตถุประสงค์ทำให้ผู้จัดการสามารถระบุ แนวทางในการปรับปรุงผลงานของพนักงานสำหรับในกรณีที่พนักงานไม่สามารถบรรลุตัวชี้วัดที่กำหนด โดยมีแนวปฏิบัติและนโยบายที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามรูปแบบในการประเมินผลต้องยุติธรรม เท่าเทียมและชัดเจน
8.การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ (Involvement of Stakeholders)
ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลชื่อดัง กล่าวไว้ว่า “คนเก่งทำให้ชนะในเกม แต่ความเป็นทีมและสติปัญญาจะทำให้กลายเป็นแชมป์”
การบริหารและการวัดผลงานควรรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งการสื่อการกับผู้มีส่วนได้เสียในองค์กรเช่นพนักงานและเจ้าของกิจการ และ ผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร เช่น ลูกค้า นักลงทุน ซัพพลายเออร์ และ ผู้ประเมิน ผู้จัดการมีหน้าที่ในการเป็นสะพานเชื่อมโยงความเห็น ข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและนอกองค์กรเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าเป้าหมายขององค์กรบรรลุผลสำเร็จ
9.พัฒนาให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน (Sustainable Competitive Advantage)
โฮเวิร์ด ชูลท์ซ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สตาร์บัคส์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกำลังใจและสร้างความท้าทายให้พนักงาน โดยนำผู้จัดการร้านจำนวน 10,000 คน มาร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 4 วันเต็มๆ ณ เมืองนิว ออร์ลีนส์ เพื่อปลุกเร้าให้พนักงานมีเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งผู้บริหารท่านนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้แก่สตาร์บัคส์อย่างมาก
โฮเวิร์ดพยายามสร้างและบริหารทักษะด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของผู้จัดการ เพื่อออกแบบกลยุทธ์ใหม่ๆให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของร้านกาแฟที่แตกต่างกันในแต่ละสถานที่
ผู้จัดการควรมีทักษะและประสบการณ์ที่จะสามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (organizational competitiveness) เพื่อกำหนดเป็นแนวทางสำหรับพนักงานที่ทำงานระยะไกล แนวทางเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังพนักงาน และช่วยในการติดตามและประเมินผลการทำงานของพนักงาน
พฤติกรรมของพนักงาน ความมีส่วนร่วมและผลิตภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขัน ตลอดจนสร้างความจงรักภักดีในตราสินค้า (brand equity) ภายใต้สภาพตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Admin หวังว่า กลยุทธ์ทั้ง 9 ข้อ จะเป็นประโยชน์ในการบริหารงาน WFH ให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาวการณ์ที่ โควิด-19 กลับมาระบาด
สู้สู้ๆนะครับ ปีใหม่แล้ว ชีวิตและความหวังใหม่ๆได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
เครดิตบทความ
Performance Improvement of Remote Workers and Teams: 9 Strategies for Managers