การทบทวนผลงานพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เป็นกุญแจหลักที่ทำให้มั่นใจได้ว่า พนักงานกำลังเดินไปสู่เป้าหมายองค์กร หากปราศจากการทบทวน พนักงานจะขาดทิศทางในการทำงานและเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายที่กำหนด
การประเมินผลงานพนักงานในยุค โควิด-19
ในช่วงปกติ การประเมินผลงานพนักงานเป็นภาระสาหัสของผู้จัดการ และ สร้างความกังวลใจสำหรับพนักงาน หลังจากการระบาดของไวรัส โควิด-19 การทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเราต้องเรียนรู้วิธีการประเมินผลงานพนักงานภายใต้สภาวะการณ์ใหม่นี้
แซม วอลตัน ผู้ก่อตั้ง วอลมาร์ท กล่าวถึง เคล็ดลับในการประเมินผลงาน ว่า “ต้องคัดเลือกคำพูดที่ชัดเจน ใช้เวลาที่เหมาะสม และพูดกับพนักงานด้วยความจริงใจ สิ่งเหล่านี้ไม่มีต้นทุนและจะสร้างความโชคดีต่อธุรกิจของคุณ”
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการ WFH
1.บ้านไม่ได้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพียงพอเหมือนสำนักงาน
ก่อนวิกฤตโรคระบาด พนักงานส่วนมากทำงานที่สำนักงาน กิจกรรมประจำวันจะคล้ายวัฎจักรเหมือนนาฬิกา ที่ขับเคลื่อนโดยพนักงาน ตึก และ อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ พนักงานมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ การประชุมทีม การระดมสมองและการฝึกอบรมเป็นไปอย่างง่ายดาย
ภายใต้วิกฤต โควิด-19 นี้ พนักงานถูกล็อคอยู่ภายในบ้าน ซึ่งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแบบสำนักงานมีค่อนข้างจำกัด พวกเขาถูกโดดเดี่ยวและใช้เพียงเทคโนโลยีในการติดต่อกับทีมบนโลกเสมือน การฝึกอบรมหรือพัฒนาตนเองถูกจำกัดอยู่บนโลกออนไลน์เท่านั้น ดังนั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายที่พนักงานจะปลอดปล่อยศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่
2. การใช้ผลงานพนักงานก่อนวิกฤตโควิด เป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการประเมินอาจไม่ถูกต้อง
ความสามารถในการปรับตัวของพนักงานแต่ละคนในการ WFH แตกต่างกันไป ดังนั้นการใช้ผลงานหรือตัวชี้วัดก่อนวิกฤตโควิดมาใช้เป็นพื้นฐานในการประเมินผลงานน่าจะไม่เหมาะสม
3.ผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานเมื่อ lockdown
กิจกรรมประจำวัน เช่น การเดินทางไปทำงาน พูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ทำงานเป็นทีมและกลับบ้านตอนเย็น ช่วยสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการงาน ซึ่งทำให้พนักงานแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ การที่อยู่แต่ในบ้านและเริ่มกิจกรรมวันใหม่ด้วยการเปิดจอคอมพิวเตอร์ อยู่กับหน้าจอตลอดทั้งวัน มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ซึ่งเป็นการยากที่พนักงานจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
4.ปัญหาเรื่องสุขภาพ สร้างความกังวลใจต่อพนักงาน
ถึงแม้ว่าพนักงานยังคงสุขภาพดี แน่นอนพวกเขามีความกังวลในเรื่องโรคระบาดและสุขภาพของคนที่เขารัก และแน่นอนส่งผลกระทบต่อผลงานพนักงานอย่างแน่นอน
5.การขัดจังหวะมีผลต่อการจดจ่อในงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การทำงานที่บ้านทำให้ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างบ้านและสำนักงาน และพนักงานพบว่ามีสิ่งรบกวนหรือขัดจังหวะในการทำงานจากลูกๆ เพื่อนบ้าน แน่นอนผลงานพนักงานก็ตกลง
6.การเปลี่ยนแปลงของเป้าหมาย
สภาพตลาดหลังวิกฤตโควิด มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง บางอุตสาหกรรมมีการทำงานล่วงเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการที่พุ่งขึ้นอย่างมาก บางอุตสาหกรรมยอดขายก็ตกลงอย่างมาก ดังนั้นย่อมส่งผลต่อเป้าหมายในการทำงานของพนักงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนและวางแผนบ่อยขึ้น
7.ความกังวลในสถานะการจ้างงาน
พนักงานหลายล้านคนทั่วโลกสูญเสียงานในช่วงไม่กี่เดือน แน่นอนพนักงานส่วนมากก็เริ่มกังวลใจถึงการประเมินผลงานที่อาจกระทบต่อสถานะการจ้างงานของตนเอง ดังนั้นการประเมินผลงานต้องยุติธรรมและเป้าหมายนั้นต้องเป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมหรือบริหารได้
สำหรับแนวทางในการประเมินผลงานพนักงานในช่วง WFH คือ
1.ต้องมีความยืดหยุ่น
โรคระบาดสร้างความยากลำบากต่อชีวิตของทุกคน มากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารต้องเห็นใจเวลาประเมินผลงานพนักงาน การให้คะแนนที่น้อยโดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาที่เขาเผชิญอาจสร้างภาวะหมดกำลังใจ
มิฉะนั้นสิ่งที่ลงทุนไปในพนักงาน เช่น การรับสมัครพนักงาน การฝึกอบรมและการเป็นพี่เลี้ยงพนักงาน ทุกอย่างจะสูญเปล่าไปหมดเมื่อพนักงานลาออก ด้วยการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง พนักงานจะรู้สึกถึงความมีตัวตน การได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดอัตราการลาออกลง
2.สร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน
เนื่องจากมีปัจจัยหลายตัวที่ส่งผลกระทบต่อผลงาน ผู้จัดการควรสอบถามพนักงานเกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานบรรลุเป้าหมาย และช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยให้พนักงานลดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในงาน และทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น
3.สร้างความสามัคคีในหมู่พนักงาน
ในที่สุดแล้ว จุดประสงค์ของการทบทวนเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ทีมงาน พูดในแง่บวกและแสดงจุดยืนเคียงข้างพนักงาน เพิ่มพูนกำลังใจและสร้างความไว้วางใจ
4.ชมเชยพฤติกรรมที่เป็นบวก
ชื่นชมแม้แต่ความพยายามเล็กๆน้อยๆ ของพนักงาน รวมถึงการที่พนักงานประสานงานระหว่างทีม หรือ การระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขอบคุณพนักงานถึงความทุ่มเท เมื่อบรรลุเป้าหมายย่อยๆและตอบแทน ขวัญและกำลังใจพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้นจำเป็นต้องทำให้พนักงานมีความพอใจและมีส่วนร่วมในงาน
5.รับฟังพนักงาน
การรับฟังความเห็นพนักงานในช่วงการประเมินผลเป็นสิ่งจำเป็น เฉพาะในช่วงเวลานี้ หลีกเลี่ยงการจัดลำดับ หรือประเมินผลเชิงปริมาณ ซึ่งแท้จริงแล้ว ตัวเลขต่างๆอาจไม่ถูกต้อง เพราะพนักงานแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกันไป
6.ส่งเสริมให้พนักงานประเมินตนเอง
ในช่วงสภาวะการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้ ไม่ควรมีการประเมินผลงานโดยเปรียบเทียบระหว่างพนักงานแต่ละคน แนวทางที่ดีที่สุดคือการให้พนักงานประเมินตนเอง เพื่อให้พนักงานรู้สึกถึงความรับผิดชอบในผลงานของตน
7.ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
เป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อน โควิด-19 ไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายในปัจจุบัน ดังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ในทางปฎิบัติ
8.หมั่นสื่อสารและสังเกตพนักงาน
ในยุค โควิด-19 ที่การสื่อสารหลักเป็นการสื่อสารจากการประชุมออนไลน์ ดังนั้นในการประเมินผลงานพนักงานต้องสังเกตภาษากายและฟังอย่างตั้งใจ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่เข้าใจ ความไม่ชัดเจนและการสื่อสารทีผิดพลาด
การใช้ OKR Software ร่วมกับการประเมินผลงานพนักงาน
ใน profit.co OKR software มีฟังก์ชั่นที่สามารถประเมินผลงานแบบ 360 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประเมินผลงาน ได้ทั้งตัวพนักงานเอง ผู้จัดการ เพื่อนร่วมงาน เพื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งการใช้ software ทำให้ philosophy ของ John Doer ในหนังสือ Measure What Matters ที่พูดถึง Conversation Feedback และ Recognition เป็นไปได้ในทางปฎิบัติ โดยรวมข้อมูลทั้งหมดไว้บน database เดียวกัน
Admin หวังว่า แนวทางประเมินผลงานพนักงานทั้ง 8 ประการจะเป็นประโยชน์ในการบริหารงาน WFH ให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาวการณ์ที่ โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง
สู้สู้ๆนะครับ
ผมเชื่อมั่นว่ามันจะผ่านไปได้อีกครั้งหนึ่ง
This too shall pass
เครดิตบทความ