วันแรกที่พนักงานเข้ามาทำงาน จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้นและพลังงาน เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆพนักงานเริ่มรู้สึก เยอะ หมดหวังและดูเหมือนไม่มีทางเลือกอื่นๆ (รู้สึกอินๆ ยังไงไม่รู้) พวกเขารู้สึกหมดแรง เบื่อ จากนั้นก็เริ่มมีเสียงบ่น ขอวันหยุดชดเชย นินทา และกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร
ท่านศาสดา Steve Jobs กล่าวว่า
“ถ้าคุณรักงานที่ทำ คุณจะพยายามทำงานให้ดีขึ้นทุกๆวัน และ ทุกคนในองค์กรจะรู้สึกถึง passion ของคุณ-ซึ่งจะสร้างบรรยากาศเหมือนโรคติดต่อ”
Sam Walton ผู้ก่อตั้งห้างสรรพสินค้า Walmart กล่าวว่า
“สัญญาณเชิงลบจากพนักงาน เป็นตัวชี้วัดที่พนักงานต้องการบางสิ่งที่ช่วยสร้างความหวังและความกระตือรือร้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ เพื่อที่จะให้ไฟ(passion) ในตัวพนักงานยังลุกโชน และพร้อมที่จะผลักดันองค์กรต่อไป”
4 เคล็ดลับที่จะสร้างแรงจูงใจพนักงาน
1.ให้การสนับสนุน (Be supportive)
พนักงานจะมีแรงจูงใจในการทำงานตราบจนกระทั่ง เขารู้ว่าเขาไม่ได้รับการสนับสนุน ซึ่งหน้าที่ของคุณคือช่วยแก้ไขจุดอ่อนของระบบ ไม่ใช่ชี้นิ้วไปที่ความผิดพลาดของเขา คุณอาจถามพนักงานว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือพัฒนางานไปในลักษณะใด
ประการสำคัญ คือ คุณต้องแสดงให้เขาเห็นว่าคุณ “ฟัง” ในสิ่งที่เขาพูด “care” และ พร้อมที่จะแก้ไขปัญหา
2.มีโครงสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม (Have the right compensation structure)
การมีโครงสร้างค่าตอบแทนที่เหมาะสม จะช่วยให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งไม่ได้หมายถึงเฉพาะเงินเท่านั้น
การใช้ผลตอบแทนในรูปเงินเพื่อขับเคลื่อนแรงจูงใจพนักงาน เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน แต่ถ้ามีผลตอบแทนอื่น เช่น การเลื่อนตำแหน่ง รางวัล โบนัสและผลตอบแทนในรูปแบบอื่น จะช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงานได้ดอย่างต่อเนื่อง
3.การสื่อสารและความโปร่งใส (Communicate and be transparent)
คุณจำเป็นต้องสร้างระบบการสื่อสารหรือช่องทาง ที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วม พนักงานจะมีความสนุกในการทำงานเมื่อรู้ว่าความคิดเห็นของเขาถูกรับ “ฟัง” และเขาได้รับโอกาสต่างๆ เมื่อมีการตัดสินใจคุณควรเปิดรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน ซึ่งเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้พนักงาน รู้ว่าเขาสำคัญ
สร้างความโปร่งใสในกระบวนการตัดสินใจสำคัญๆ เช่น กฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการเลื่อนตำแหน่ง
4.รู้จักและฟังทีมของคุณ
ในการสร้างแรงจูงใจ คุณต้องรู้จักพนักงานแต่ละคนอย่างละเอียด ทั้งในชีวิตงานหรือครอบครัว พนักงานจะรู้สึกถึงความเป็นทีม รับรู้ถึงความยากลำบากที่พนักงานพบ และพร้อมที่จะหาทางแก้ไข สิ่งนี้จะช่วยสร้างให้พนักงานมีความหวังและสนับสนุนให้พนักงานใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่
การสังเกตพนักงานที่ขาดแรงจูงใจ สังเกตง่ายๆได้จาก การขาดอารมณ์ขัน ความกระตือรือร้น หรือสนใจในสิ่งรอบข้างลดลง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าพนักงานจะไม่ทุ่มเทหรือพยายามบรรลุเป้าหมายองค์กร
การสำรวจความมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee engagement) จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เข้าใจว่า พนักงานมองบริษัทอย่างไร
สรุป
การใช้กระบวนการของ OKR เป็นส่วนหนึ่งในการตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์จะทำให้ พนักงานเข้าใจปัจจัยที่สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ การเปิดเผย OKR ให้ทุกคนในองค์กรรับรู้ มีการ Check-in รายสัปดาห์และติดตามผลงานของพนักงานแต่ละคน ซึ่งจะส่งผลต่อผลประกอบการองค์กรในระยะยาว
เป็นอย่างไรบ้างครับ องค์กรของเรามีสักกี่ข้อ
Admin หวังว่า บทความนี้จะช่วยกระตุ้นให้เจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้บริหาร นำแนวคิดนี้ไปผลักดันธุรกิจหรือบริการใหม่ๆให้ประสบความสำเร็จ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน มีความสุข
ซินเจี่ยอยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ อั่งเปาตั่วๆไก๊ ครับ
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า
แปลและปรับปรุงจากบทความ