จากภาระงานในบทบาทที่ปรึกษาธุรกิจ พบว่าการสอนการเขียนแผนธุรกิจในอดีตเป็นเรื่องยากและน่าเบื่อ จนเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา มีที่ปรึกษาระดับโลกท่านนึง คือคุณ Alexander osterwalder ได้ออกแบบเครื่องมือโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas)
ซึ่งทำให้ ก่อนที่จะลงมือเขียนแผนธุรกิจ จะต้องผ่านกระบวนการคิด โดยใช้เครื่องมือเป็นเลนส์ ในการวิเคราะห์ก่อน จากนั้น อาจใช้ในการออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่ หรือ ใช้เป็นกรอบคิดรวบยอด ก่อนนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อขอสินเชื่อสถาบันการเงิน
แนวคิด OKR ก็เช่นเดียวกัน ก็มีเครื่องมือที่เรียกว่า OKR Canvas ซึ่งใช้เป็น template ในการออกแบบ OKR นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำ workshop OKR ด้วย
OKR Canvas ประกอบด้วย ตาราง 2 ส่วนด้วยกัน
1.Objective เป็นส่วนที่เขียนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ (ขอยกตัวอย่างของผู้จัดการร้าน 7-11 ไปพร้อมกัน) ประกอบด้วย
• Objective เพิ่มยอดขายตามเป้าหมาย
• Target Date ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564
• Visibility พนักงานในร้าน (OKR นี้ใครเห็นได้บ้าง)
• Alignments หัวหน้าทีมในแต่ละกะ (มีส่วนร่วมให้ OKR นี้ประสบความสำเร็จ)
• Delegations พนักงานในร้าน (มอบหมายให้ลูกน้อง)
• Shares ผู้จัดการเขต (แบ่งปันข้อมูลนี้ให้ใครทราบบ้าง)
2.Key Results ผลลัพธ์หลัก ประกอบด้วย
• Actions เพิ่ม (เป็น KR-Key results รูปแบบหนึ่ง)
• What changes? จำนวนลูกค้าใช้บริการต่อวัน
• By how much? ไม่น้อยกว่า 1,214 คน
• Target Date 31 มี.ค. 2564
• Check-in Frequency ทุกสัปดาห์ (การติดตามผล)
โดยปกติ ใน 1 objective ควรมี 3-5 KRs เพื่อให้เรา focus กับงานที่ทำ และ OKR เป็นส่วนหนึ่งของระบบ KPI ที่ย่อยเป้าหรือ Deploy ไปสู่เป้าในรายสัปดาห์
ความสำเร็จของ OKR นั้น ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1.Employee Engagement ความมีส่วนร่วมของพนักงาน ซึ่งผ่านกระบวนการตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย OKR Canvas เป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจในการใช้ OKR มากขึ้น
2.Task Management การมอบหมายงานและการติดตามงาน โดยเฉพาะการ assign task ให้สอดคล้องกับ KR ตลอดจนการติดตามความคืบหน้าในรายสัปดาห์ (Check-in)
3.Performance Management ผ่านกระบวนการ Conversation Feedback และ Recognition ทั้งนี้เป็นกระบวนการสื่อสารระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง รายสัปดาห์ ในประเด็น งานที่ทำมาในสัปดาห์ก่อนมีอุปสรรคอะไรที่ต้องการให้ช่วยแก้ไข หัวหน้าสามารถ feedback ในเชิงบวกเน้นในการปรับปรุงงาน และ สร้าง recognition โดยชมเชย หรือ ทำให้เรื่องงานเป็นเรื่องเกมที่สนุก เช่น ใครบรรลุเป้ามากกว่าก็จะมีรางวัลเป็นของเล็กน้อยๆ อาทิ คูปอง starbuck เป็นต้น
ในสัปดาห์ต่อๆไปจะนำ กรณีศึกษาของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ มา share ใน community แห่งนี้ หากท่านใดเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็สามารถชักชวนเพื่อนๆเข้าร่วมได้ครับ
ขอบคุณครับ ซินเจียอยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ OR ตั่วๆไก๊นะครับ
เครดิตบทความ https://www.okrcanvas.org/