องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากกิจกรรมทางธุรกิจ ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและแก้ไขปัญหา ความท้าทายต่างๆเพื่อให้บริษัทมุ่งไปข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนและการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์

คำถามสำคัญคือ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า องค์กรคุณพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือยัง ด้วย 4 คำถามหลัก

1.วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและรับรู้ทั่วทั้งองค์กร (A clear and shared vision)

ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้สำเร็จก็ต่อเมื่อคุณสร้างความสอดคล้องของคุณค่าและวิสัยทัศน์ทั่วทั้งองค์กร โดยปกติสามารถแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับวางกลยุทธ์ (c-level) ระดับการบริหารงาน(operating) และ ระดับการนำไปปฏิบัติ (tactical)
ลองตั้งคำถามตามนี้
•องค์กรได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสื่อสารไปทั่วทั้งองค์กร ในรูปแบบที่ง่าย ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
•มีการสื่อสารวิสัยทัศน์อย่างสม่ำเสมอในทุกระดับ ซึ่งหมายถึงทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงพนักงานที่อยู่หน้างาน เข้าใจวิสัยทัศน์ในทิศทางเดียวกัน
•พนักงานทุกคนต้องเข้าใจว่าวิสัยทัศน์องค์กรเกี่ยวกับงานของตนอย่างไร และงานของตนส่งผลต่อวิสัยทัศน์องค์กรและตอบโจทย์กลยุทธ์องค์กรอย่างไร

•มีความสอดคล้องกันของกลยุทธ์กับวิสัยทัศน์ ซึ่งทำให้ทุกคนในองค์กรมุ่งไปยังเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน
•เป้าหมายถูกถ่ายทอดจากวิสัยทัศน์ลงมาตามลำดับชั้น และทุกระดับในองค์กรมีเป้าหมายที่ต้องบรรลุ
•มีการวัดผลการทำงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ การวัดผลนั้นมีการทบทวนและติดตามความคืบหน้าหรือความสอดคล้องอย่างต่อเนื่อง

•ทุกระดับในองค์กรต้องมีความเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบว่างานของตนมีส่วนร่วมเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ใหญ่ ซึ่งทุกคนหมายถึงผู้นำระดับสูง ผู้จัดการระดับกลางและพนักงาน
•มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึง การ update รายงานแสดงความก้าวหน้าและฉลองความสำเร็จที่เกิดขึ้น

2.ความสามารถที่พร้อมจะรับการเปลี่ยนแปลง (Capacity for change)

ความสามารถที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงหมายถึง ทรัพยากรที่เพียงพอที่พร้อมจะนำคุณไปสู่การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management) ครอบคลุมถึงทรัพยากรมนุษย์ เงินทุนและเทคโนโลยี ที่เพียงพอที่จะผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ลองตั้งคำถามตามนี้

•ทีมผู้นำมีทักษะและประสบการณ์เพียงพอในการสร้างความเปลี่ยนแปลง? พวกเขาพร้อมที่จะเสี่ยงและทำการตัดสินใจหนักๆเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ปรารถนาเพียงใด?
•วัฒนธรรมในองค์กรเปิดรับความเปลี่ยนแปลง? พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นใหม่และกล้าเสี่ยงในเรื่องที่ควบคุมความเสียหายได้(calculated risk)? พวกเขามีความยินยอมที่จะเรียนรู้และปรับตัวเพื่อรับสถานการณ์ใหม่ๆเพียงใด
•คุณมีทรัพยากรเพียงพอที่จะริเริ่มโครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเพียงใด ซึ่งครอบคลุมถึงทรัพยากรทางการเงิน บุคคลและเทคโนโลยี

•มีการสื่อสารที่ชัดเจนและมีประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กรหรือไม่ ทุกคนตระหนักถึงเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและความรับผิดชอบที่เขาจะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย? มีการสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับพนักงานในแต่ละระดับ?
•ธุรกิจมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการรับการเปลี่ยนแปลง? กระบวนการทำงานและระบบคล่องตัวหรืออำนวยความสะดวกในการปรับไปสู่วิธีการทำงานใหม่ๆหรือไม่
•วัฒนธรรมองค์กรเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้? พนักงานสนใจที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาทักษะใหม่ๆ? พนักงานกล้าหรือเต็มใจที่จะทดลองและเรียนรู้จากสิ่งผิดพลาด?

•องค์การมีกระบวนการบริหารความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน? พนักงานถูกฝึกในหลักการและเทคนิคของการบริหารความเปลี่ยนแปลง? มีแผนงานอย่างไรถ้าการต่อต้านความเปลี่ยนแปลง?
•องค์กรคุณใช้ข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ? คุณมีข้อมูลที่เพียงพอเพื่อวัดผลสำเร็จของโครงการที่สร้างความเปลี่ยนแปลง?

สำหรับในตอนนี้ค่อนข้างยาว สำหรับอีก 2 ปัจจัยหลัก ขอเป็นตอนต่อไปครับ
สำหรับท่านที่สนใจจะใช้ OKRs เป็นเครื่องมือในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ info@bacconsultant.com หรือ 099-249-1636

ช่วงนี้โควิด เริ่มกลับมาระบาดอีกครั้ง รักษาสุขภาพด้วยครับ แล้วพบกันใหม่
Credit บทความ : Profit.co