EP 12: OKR กับงานในแผนกบัญชี/การเงิน
ในการใช้งาน OKR กับแผนกอื่นๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต ฯ ดูไม่ค่อยยากเพราะผลลัพธ์ (Key Results) เป็นสิ่งที่จับต้องได้ ในเชิงปริมาณ ในขณะที่ ฝ่ายสนับสนุน เช่น บัญชี การเงิน หรือ ทรัพยากรมนุษย์ มีความยากในการทำมากกว่า เพราะไม่สามารถกำหนดตัวชี้วัดในเชิงปริมาณได้
ตอนนี้ลองยกตัวอย่างว่าคุณเป็น CFO ในบริษัท Start up แห่งหนึ่ง และอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 ก็เลยมีการตั้ง OKR ที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จภายในสิ้นปีขึ้นมา
OKR ระดับบริษัท
Objective 1: สร้างกลยุทธ์ทางการเงินใน 1 ปีข้างหน้า
Key Results
- จัดทำงบประมาณทางการเงินของปี 2562
- ประชุมกับ Venture Capital อย่างน้อย 30 ราย ภายในปี 2562
- ระดมทุน 10 ล้านบาท ภายในปี 2562
OKR ระดับทีม
Objective 1: จัดทำประมาณการทางการเงินของปี 2562
Key Results
- ประชุมกับหัวหน้าทีมทั้ง 3 ทีม เพื่อหารือในงบประมาณที่ต้องใช้ในปี 2562
- พิจารณาค่าใช้จ่ายในปี 2561 และลดค่าใช้จ่ายสำหรับงบประมาณปี 2562 ลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2561
- จัดทำประมาณการทางการเงินของปี 2562 ภายในสิ้นปี 2561
Key Results เป็นได้ทั้ง ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ หรือ การบรรลุกำหนดการสำคัญต่างๆ (Milestone) ทั้งนี้ KR สำหรับแผนกสนับสนุนมักมาในรูป Milestone
เห็นไหมครับว่า OKR สำหรับหน่วยงานการเงินไม่ยากครับ ทุกหน่วยงานมีผลต่อความสำเร็จของ OKR ในระดับบริษัท ดังนั้น OKR ของแผนกสนับสนุนต้องเชื่อม Horizontal alignment กับแผนกอื่น เช่น ในการทำประมาณการทางการเงินต้องไปขอข้อมูลจากแผนกอื่นๆ