Dashboard เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพรวม โดยการแปลง KPIs -ข้อมูลดิบ หรือตัววัดผล ให้กลายเป็นกราฟหรือรูปภาพ
Dashboard แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1.Executive KPI Dashboard
Dashboard ซึ่งจะมีตัววัดผล ที่แสดงความก้าวหน้าของตัวชี้วัด เพื่อติดตามกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัท ซึ่งจะช่วยติดตาม KPI กับเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น ยอดขายรายปี เทียบกับเป้าหมาย
2.The Operational Dashboard
ใช้สำหรับติดตามสถานะปัจจุบัน และแสดงในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น การที่สถานีตำรวจ แสดงอัตราการเกิดอาชญากรรม สถิติคนที่แจ้งความ แยกตามท้องที่
3.The Tactical Dashboard
Dashboard ประเภทนี้ใช้ติดตามความก้าวหน้าเมื่อเทียบกับเป้าหมาย และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจใช้มาตรการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบกลยุทธ์การสื่อสารผ่านช่องทางการตลาดแต่ละช่องทาง ว่าแต่ละกลยุทธ์ว่าได้ผลแตกต่างกันอย่างไร ในด้านพฤติกรรมผู้บริโภค การซื้อสินค้า และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินใจ
4.The Analytical Dashboard
Dashboard ประเภทนี้ประกอบด้วยข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง แสดงรายละเอียดข้อมูลในแต่ละด้านเพื่อเป็นพื้นฐานหรือประจักษ์พยานในการตัดสินใจ เช่น ผู้ผลิตสินค้าอาหารสสำเร็จรูป ใช้ Dashboard ที่แสดงการขายสินค้าประจำวัน แสดงให้เห็นว่าลูกค้าซื้อสินค้าเมื่อไร ที่ไหนและรายการใด ซึ่งช่วยให้สามารถทำนายพฤติกรรมของผู้บริโภคและวางแผนการจัดจำหน่าย
ประโยชน์อื่นๆของ Dashboard คือ
a)Access to real-time, interactive data
ต้องมี real-time updates เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดการประชุมที่ไม่จำเป็น เพราะทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือ export files ได้ตลอด และจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับสภาพธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา
b)Simplified processes
เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ หรือทำนายสิ่งต่างๆได้อย่างง่ายดาย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงความสามารถส่วนบุคคลของทีมตลอดเวลา
c)Enhanced inter-department communication
Dashboard ช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างแผนก เพื่อให้ทิศทางองค์กรถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่แบ่งปัน สร้างความมีส่วนร่วม และนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง
d)Centralized access to KPI metrics
ทำให้เป็นระบบศูนย์กลางที่รวบรวมความก้าวหน้าของตัววัดผลต่างๆ
e)It’s easy to identify and manage inefficiencies.
สิ่งสำคัญคือ ช่วยทำให้เห็นจุดอ่อนในการดำเนินกลยุทธ์ และทำให้ผู้บริหารสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
f)A competitive edge
เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาด และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันในระยะยาว
เมื่อเห็นถึงข้อดีมากมายของ Dashboard แล้ว Dashboard ที่ดีมีคุณสมบัติอย่างไร
1. Dashboard ควรอยู่ในหน้ากระดาษ 1 แผ่นหรือ 1 Screen เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว เห็นภาพที่ชัดเจนและจุดอ่อนที่ควรรีบแก้ไข
2. ติดตามความก้าวหน้าของตัววัดผลที่สำคัญจริงๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์องค์กรเท่านั้น
3. ต้องสามารถเข้าถึง Dashboard ได้ง่ายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ทำให้สิ่งที่แสดงใน Dashboard เข้าใจได้ง่ายและนำผู้อ่านไปในทิศทางที่ถูกต้อง
5. มุ่งเน้นเฉพาะข้อมูลที่สำคัญหรือมีความเกี่ยวเนื่องจริงๆเท่านั้น
6. สามารถ Drill-down เจาะลึกผลที่แสดงใน Dashboard เมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
Admin หวังว่าเนื้อหาใน EP นี้ น่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ผู้จัดการและพวกเราชาว HR มีความเข้าใจถึงการนำ Dashboard มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
สำหรับองค์กรต่างๆ ที่เริ่มใช้ OKRs แล้ว การใช้ Dashboard ที่สรุปภาพรวมความก้าวหน้า OKRs แบบ Real-time จะทำให้การใช้ OKRs ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น สนใจ OKR software มาที่ Link นี้ได้เลยครับ
https://www.profit.co/product/
สวัสดีครับ แล้วพบกันใหม่
เครดิตบทความ https://www.profit.co/blog/okr-university/what-is-a-kpi-dashboard-examples-and-templates/