EP 13:  OKR กับงานในแผนกบริหารทรัพยากรมนุษย์ (1)

งานในแผนกบริหารทรัพยากรมนุษย์ คนส่วนใหญ่ มองว่าไม่สำคัญ เพราะทำงาน Routine เป็นหลัก อาทิ รับคนเข้ามาทำงาน ทำระบบจ่ายเงินเดือน จัดฝึกอบรม จัดเกณฑ์ในการประเมินผลงาน เลื่อนขั้นหรือตำแหน่งสำหรับพนักงาน ฯลฯ

จริงๆแล้วสำคัญมาก เพราะพนักงานคือทุกสิ่งขององค์กร ระบบไอที หรือ เทคโนโลยี เราสามารถหาซื้อได้ แต่ความเชี่ยวชาญ ความจงรักภักดี การที่พนักงานจะร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรเป็นสิ่งที่เงินไม่สามารถซื้อได้ทั้งหมด

ความท้าทายหลักของแผนกบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ระบบการประเมินผลงานที่เป็นธรรม ซึ่งคำว่าเป็นธรรมนี้ต้องเป็นธรรมทั้งสำหรับพนักงาน องค์กร ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน

ระบบบริหารการประเมินผลงานในแบบเดิม มักจะเป็นการประเมินผลงานรายปี (Annual Performance Management) ซึ่ง มีข้อเสียหลายประการ คือ

  1. มีการประเมินผลและให้ข้อแนะนำสำหรับพนักงานปีละครั้ง (Annual feedback)
  2. ลักษณะการประเมินขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของหัวหน้าเป็นหลัก (Directing/Autocratic)
  3. มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcome focused)
  4. หลักฐานในการประเมินไม่ชัดเจน (Weakness based)
  5. มีแนวโน้มที่จะเอนเอียง (Prone to bias)

ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ อัตราการลาออกที่สูง พนักงานหมดกำลังใจในการทำงาน และความขัดแย้งระหว่างพนักงานและผู้บริหารเพิ่มขึ้น

ระบบการบริหารผลงานที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา ดังกล่าว คือ การบริหารผลงานแบบต่อเนื่อง (Continuous Performance Feedback) ซึ่งจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

  1. มีการประเมินผลและให้ข้อแนะนำพนักงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous feedback)
  2. มุ่งเน้นการเป็นพี่เลี้ยงและรับฟังความคิดเห็นพนักงาน (Coaching/democratic)
  3. มุ่งเน้นกระบวนการทำงาน (Process focused)
  4. หลักฐานในการประเมินชัดเจน (Strength based)
  5. ประเมินผลโดยใช้ประจักษ์พยานที่เป็นจริง (Fact driven)

สำหรับระบบใหม่นี้ เรียกสั้นๆว่า CFR ย่อมาจาก

  1. Conversations: การสื่อสารหรือพูดคุยกับระหว่างหัวหน้างานและลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ โดยเป้าหมายหลักคือการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการทำงาน
  2. Feedback: การสื่อสารระหว่างหัวหน้า ทีมเพื่อนร่วมงาน เพื่อประเมินความคืบหน้าและแนะนำการปรับปรุงงานในอนาคต
  3. Recognition: เมื่อทำดีต้องมีการชมเชย สิ่งสำคัญคือการชื่นชมความสำเร็จของงานทั้งเล็กและใหญ่

ทีนี้ CFR มาเกี่ยวกับ OKR อย่างไร จะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้กระบวนการ CFR มาเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามผล OKR ได้ เพราะ OKR เป็นการตั้งเป้ารายปี ทอนเป้าหมายลงมาเป็นรายไตรมาส และติดตามผลเป็นรายสัปดาห์

ตัวย่อ เริ่มเยอะแล้วครับ เดี๋ยวผู้อ่านเครืยด

ตอนต่อไปจะมาเล่าว่า ใช้ CFR ในการช่วยประเมิน OKR อย่างไร

ที่มา: บทความนี้ดัดแปลงจาก Measure What Matters ของ John Doerr, New York: Portfolio/Penguin (2018)

ตัวอย่างของ OKRs สำหรับแผนก HR มาตาม Link เลยครับ

File OKRs สำหรับแผนก HR